วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

แอสตาแซนธิน Astaxanthin

แอสตาแซนธิน Astaxanthin จากกิฟฟารีน 

ราชินีแห่งสารต้านอนุมูลอิสระ เพื่อผิวสดใสเปล่งปลั่ง นวลเนียน ไร้ริ้วรอย





" แอสตาแซนธิน " (Astaxanthin) 
สารต้านอนุมูลอิสระทางเลือกใหม่ ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดตามธรรมชาติ

มากกว่า วิตามิน ซี 6,000 เท่า,
CoQ10 800 เท่า,
วิตามิน อี 550 เท่า,
Green tea catechins 550 เท่า,
Alpha lipoic acid 75 เท่า,
เบต้า แคโรทีน 40 เท่า
และ สารสกัดจากเมล็ดองุ่น 17 เท่า


=====
 สาระน่ารู้เกี่ยวกับแอสตาแซนธินที่มีต่อสุขภาพผิว
และการเกิดริ้วรอย
 

 “ริ้วรอย” (Wrinkle) เป็นปรากฎการณ์การเสื่อมสภาพของผิวที่สุภาพสตรีให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ เนื่องจากมีผลต่อความสวยงามบนใบหน้าโดยตรง อีกทั้งเป็นสิ่งที่ชี้บ่งถึงความล่วงเลยของวัย
ปัจจัยที่ทำให้เกิดริ้วรอย ได้แก่

- ปัจจัยภายใน อาทิเช่น อายุที่เพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดการเสื่อมไปตามธรรมชาติของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันใต้ผิวหนังประเภทคอลลาเจนละอีลาสติน นำไปสู่การเกิดริ้วรอยชนิดถาวรขึ้น รวมไปถึงการทำงานของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าที่ควบคุมการแสดงออกของสีหน้า เช่น การยิ้ม การขมวดคิ้ว ความเครียด เป็นต้นเหตุของริ้วรอยอันเกิดจากการแสดงอารมณ์

- ปัจจัยภายนอก คือ มลภาวะต่างๆ ได้แก่ รังสียูวี มลพิษทางอากาศ ฝุ่นควัน การสูบบุหรี่ ซึ่งก่อให้เกิดอนุมูลอิสระภายในผิวจนเซลล์ผิวเกิดการเสื่อมสภาพ ส่งผลให้เกิดริ้วรอย จุดด่างดำ และความหมองคล้ำของผิว

ประเภทของริ้วรอย

1. ริ้วรอยตื้น (Fine wrinkles) มีลักษณะเป็นเส้นบางๆ ที่ผิวมักเกิดบริเวณแก้มเป็นผลมาจากการที่ผิวแห้งและขาดความชุ่มชื้น เนื่องจากผิวถูกทำร้ายจากสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองแก่ผิว การชะล้างทำความสะอาดผิวที่รุนแรงเกินไป โดยเฉพาะการใช้น้ำอุ่นหรือน้ำร้อนล้างหน้า นอกจากนี้ มลภาวะจากสภาพแวดล้อมต่างๆ ก็อีกปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดริ้วรอยได้เช่นกัน

2. ริ้วรอยร่องลึก (Deep wrinkles or skin folds) ริ้วรอยร่องลึกมักเกิดจากความหย่อนคล้อยของโครงสร้างผิว ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นร่องลึกบริเวณมุมปีกจมูกโค้งมาที่มุมปาก และอาจโค้งยาวลงมาถึงคางคล้ายเครื่องหมายวงเล็บรอบปากนำไปสู่ความหย่อนคล้อยที่ปรากฏขึ้นที่แก้มทั้ง 2 ข้าง ริ้วรอยประเภทนี้เป็นผลมาจากการลดลงของคอลลาเจนในผิวและการเปลี่ยนแปลงของอิลาสตินตามธรรมชาติจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น และยิ่งเห็นชัดเจนยิ่งขึ้นจากปัจจัยกระตุ้นต่างๆ เช่น รังสียูวีจากแสงแดด การสูบบุหรี่ และมลภาวะต่างๆ ก็ส่งผลให้เกิดริ้วรอยได้มากยิ่งขึ้นเช่นกัน

เหตุใดอนุมูลอิสระจึงทำให้เ
กิดริ้วรอย

อนุมูลอิสระ (free radical หรือ oxidant) คือ โมเลกุลที่มีอิเลคตรอนอิสระอยู่รอบนอก จัดเป็นโมเลกุลที่ไม่มีความเสถียร และมีความว่องไวต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมีในลักษณะที่เป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ สามารถเข้าทำปฏิกิริยากับสารชีวโมเลกุลต่าง ๆ ที่อยู่รอบข้างได้ทันทีที่ถูกสร้างขึ้น ส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่องค์ประกอบต่างๆ ของเซลล์ภายในร่างกาย เช่น การเปลี่ยนสภาพโปรตีนและไขมันของเยื่อหุ้มเซลล์ การทำลายโครงสร้างดีเอ็นเอ (DNA) ทำให้การทำงานของโปรตีนหรือเอนไซม์เหล่านั้นผิดปกติไป (อ้างอิงที่ 1) ดังนั้นเมื่ออนุมูลอิสระไปทำลายโครงสร้างเซลล์ผิวที่มีโปรตีนและไขมันเป็นองค์ประกอบ (อ้างอิงที่ 2) จึงทำให้เป็นสาเหตุของการเกิดริ้วรอยก่อนวัยอันควร

สารต้านอนุมูลอิสระคือ สารที่สามารถป้องกันหรือชะลอการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของอนุมูลอิสระได้ (อ้างอิงที่ 3) สารเหล่านี้มีกลไกในการต้านอนุมูลอิสระหลายแบบ เช่น ดักจับอนุมูลอิสระโดยตรง ยับยั้งการสร้างอนุมูลอิสระหรือเข้าจับกับโลหะเพื่อป้องกันการสร้างอนุมูลอิสระ โดยทั่วไปสารต้านอนุมูลอิสระสามารถพบได้ในธรรมชาติจากสารหลายชนิด เช่น ผัก ผลไม้ สาหร่าย เป็นต้น

แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) เป็นสารกลุ่มแคโรทีนอยด์ชนิดหนึ่งในกลุ่มแซนโทฟิลล์สามารถพบได้ในแหล่งธรรมชาติ ในสภาพแวดล้อมทะเลไปจนถึงแอ่งหิน ทั่วไป รวมทั้งพบในเปลือกกุ้ง เปลือกปู และปลาชนิดต่างๆ เช่น ปลาแซลมอน ปลาเทราท์ (อ้างอิงที่ 4) ซึ่งมีประโยชน์มากมาย เช่น ช่วยป้องกันการเกิดออกซิเดชั่น ป้องกันการเสื่อมสภาพผิวจากแสงแดด และช่วยลดการอักเสบ (อ้างอิงที่ 5) นอกจากนี้สามารถพบแอสตาแซนธินได้ในสาหร่ายพันธุ์ Haematococcus pluvialis ซึ่งถือได้ว่าเป็นแหล่งที่มีแอสตาแซนธินมากที่สุดในธรรมชาติ (อ้างอิงที่ 6) และไม่ต่างกับแอสตาแซนธินที่อยู่ในปลาแซลมอนและสัตว์ทะเลอื่นๆ (อ้างอิงที่ 4)

แอสตาแซนธินมีความสามารถในก
ารต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุดในสารกลุ่มแคโรทีนอยด์ด้วยกัน มีคุณสมบัติพิเศษคือ สามารถปรับตัวเองอยู่ได้ทั้งส่วนที่เป็นไฮโดรฟิลิก (ชั้นน้ำ) และไฮโดรโฟบิก (ชั้นไขมัน) ได้ทั้ง 2 ส่วน ต่างกับเบต้าแคโรทีนที่จะอยู่ได้เฉพาะส่วนที่เป็นชั้นไขมันและวิตามินซีจะอยู่ได้เฉพาะส่วนที่เป็นชั้นน้ำ (อ้างอิงที่ 7) จึงมีคุณสมบัติที่เหนือกว่าในการป้องกันผนังเซลล์ซึ่งมีทั้งชั้นน้ำและไขมัน (Lipid bilayer) จากปฏิกิริยาเปอร์ออกซิเดชั่น

งานวิจัยทางคลีนิคศึกษาผลด้านสุขภาพผิวของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนประกอบของแอสตาแซนธิน (Astaxanthin) ในกลุ่มอาสาสมัครผู้หญิงชาวอเมริกันวัยกลางคนที่สุขภาพดี พบว่า หลังจากสัปดาห์ที่ 6 อาสาสมัครกลุ่มที่ได้รับแอสตาแซนธินวันละ 4 มิลลิกรัม (2 x 2 มิลลิกรัม) มีสุขภาพผิวที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ริ้วรอยลดเลือนลง ความยืดหยุ่นของผิวดีขึ้น ผิวมีความชุ่มชื้นมากขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (placebo) (อ้างอิงที่ 8)

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยกับกลุ่มอาสาสมัครผู้หญิงจำนวน 30 คน อายุเฉลี่ย 20-55 ปี โดยให้อาสาสมัครรับแอสตาแซนธินจาก Haematococcus pluvialis 6 มิลลิกรัมต่อวันควบคู่กับการใช้ ครีมจากแอสตาแซนธิน 2 มิลลิกรัม (สารละลาย 78.9 ไมโครโมล) หลังจากสัปดาห์ที่ 8 พบว่าริ้วรอยเหี่ยวย่นลดลง จุดด่างดำจากแสงแดดลดลง ความยืดหยุ่นของผิวดีขึ้น มีความชุ่มชื้นดีขึ้นทั้งในผิวชั้นหนังกำพร้าและหนังแท้ เมื่อมีการรับประทานร่วมกับการใช้ครีมบำรุงที่มีแอสตาแซนธิน (อ้างอิงที่ 4)

อีกงานวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (Randomized double-blind placebo controlled study) ทดลองในกลุ่มผู้ชายในประเทศญี่ปุ่นจำนวน 36 คน อายุระหว่าง 20 - 55 ปี แบ่งอาสามัครเป็น 2 กลุ่มเท่าๆ กัน คือกลุ่มที่ได้รับแอสตาแซธินจาก Haematococcus pluvialis 6 มิลลิกรัม จำนวน 18 คน และกลุ่มหนึ่งที่ได้รับยาหลอก (placebo) จำนวน 18 คน หลังจากสัปดาห์ที่ 6 พบว่า กลุ่มที่รับประทานแอสตาแซนธินมีสุขภาพผิวโดยรวมดีขึ้น ดังนั้น การรับประทานแอสตาแซนธินจึงช่วยทำให้ผิวมีสุขภาพดีขึ้นได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย (อ้างอิงที่ 4)

นอกจากนี้ เนื่องจากแอสตาแซนธินเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีคุณภาพสูง ยังมีงานวิจัยของแอสตาแซนธินที่มีคุณประโยชน์ในด้านอื่นๆ อีก เช่น เรื่องสายตา และการลดระดับไขมันในเลือดในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน เป็นต้น

• ทางด้านผลต่อสายตาและการมองเห็น
มีงานวิจัยของประเทศอิตาลี เป็นการทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม โดยวัดความสามารถในการมองเห็น (visual acuity (VA), contrast sensitivity (CS) and National Eye Institute visual function questionnaire (NEI VFQ-25) scores) ของอาสาสมัครกลุ่มทดลองที่รับประทานแอสตาแซนธิน 4 มก. ร่วมกับลูทีน 10 มก. ซีแซนทีน 1 มก. ต่อวัน เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่รับประทาน ติดตามผลเป็นเวลาสองปี พบว่า อาสาสมัครมีความสามารถในการมองเห็นดีขึ้นกว่ากลุ่มที่ไม่รับประทานอย่างมีนัยสำคัญ (อ้างอิงที่ 9)

• ทางด้านไขมันในเลือด
งานวิจัยของประเทศเกาหลี ทำการทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมในผู้ที่น้ำหนักเกิน โดยผู้รับการวิจัยและผู้รับการรักษาไม่ทราบว่ารับประทานแอสตาแซนธินหรือยาหลอก (Randomized, double-blind, placebo-controlled study) พบว่า การรับประทานแอสตาแซนธินมีผลดีต่อระดับไขมันในเลือด โดยลดแอล ดี แอล โคเลสเตอรอล (LDL Cholesterol) ได้อย่างมีนัยสำคัญ และมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระได้จริงในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน (อ้างอิงที่ 10)

วิตามินซีกับความสวยความงาม

วิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี มีส่วนช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อคอลลาเจน จึงช่วยลดการเกิดริ้วรอยและช่วยป้องกันอันตรายจากรังสียูวีจากแสงแดด นอกจากนี้ยังสามารถลดภาวะการเกิดผิวหมองคล้ำได้อย่างนัยสำคัญ จึงเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ผิวพรรณแลดูกระจ่างใสและมีสุขภาพดี (อ้างอิงที่ 11,12)

การทำงานร่วมกันของแอสตาแซนธินและวิตามินซีจึงให้คุณสมบัติการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูงมาก จะส่งผลดีต่อสุขภาพผิวพรรณ โดยสามารถลดการเกิดริ้วรอย ลดจุดด่างดำ เพิ่มความชุ่มชื้นและความยืดหยุ่นให้กับผิว ลดการเสื่อมสภาพของเซลล์ผิว ทำให้ผิวพรรณดูมีสุขภาพดี อ่อนวัย และกระจ่างใสแม้ตัวเลขของอายุจะเพิ่มขึ้นก็ตาม

เอกสารอ้างอิง
1. Jirum J., and Srihanam P. (2011). Oxidants and antioxidants: Sources and mechanism. Academic Journal of Kalasin Rajabhat University. 1(1): 59-70.

2. นายแพทย์วิโรจ สินธวานนท์. (2556). ผิวหนัง อวัยวะมหัศจรรย์. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.inderm.go.th/inderm_th/Health/health_00.html. 9 พฤษภาคม 2556

3. Halliwell B. (2009). The wanderings of a free radical. Free Radical Biology and Medicine. 46: 531–542.

4. Tominaga K., Hongo N., Karato M., and Yamashita E. (2012). Cosmetic benefits of astaxanthin on humans subjects. Acta Biochimica Polonica. 59(1): 43-47.

5. Guerin M., Huntley M.E., and Olaizola M. (2003). Haematococcus astaxanthin: applications for human health and nutrition. Trends in Biotechnology. 21(5): 210-216.

6. Hussein G., Sankawa U., Goto H., Matsumoto., and Watanabe H. (2006). Astaxanthin, a carotenoid with potential in human health and nutrition. Journal of Natural Products. 69(3): 443-449.

7. Nishida Y., Yamashita E., and Miki W. (2007). Quenching Activities of Common Hydrophilic and Lipophilic Antioxidants agints Singlet Oxygen Using Chemiluminescence Detection System. Carotenoid Science. 11: 16-20.

8. Yamashita E. (2006). The Effect of a Dietary Supplement Containing Astaxanthin on Skin Condition. Carotenoid Science. 10: 91-95..

9. Piermarocchi S., Saviano S., Parisi V., Tedeschi M., Panozzo G., Scarpa G., Boschi G., and Lo Giudice G. (2012). Carotenoids in Age-related Maculopathy Italian Study (CARMIS): two-year results of a randomized study. European Journal of Ophthalmology. 22(2): 216-225.

10. Choi H.D., Youn Y.K., and Shin W.G. (2011). Positive effects of astaxanthin on lipid profiles and oxidative stress in overweight subjects. Plant Foods for Human Nutrition. 66(4): 363-369.

11. ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเรื่อง การแสดงข้อความกล่าวอ้างเกี่ยวกับหน้าที่ของสารอาหาร คณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

12. Yang B.W., Lin Y.M., Wang S.Y., Yeh D.C. (2012). The study of absorption efficiency and restoring effects of collagen and ascorbic acid on aged skin by fluorescence and reflection spectroscopy. Guang Pu Xue Yu Guang Pu Fen Xi. Dec;32(12): 3299-303.

- ข้อมูลจาก: http://www.giffarinethailand.com

=====



Astaxanthin
ตอบโจทย์ของการมีผิวสุขภาพดี ได้มากที่สุด

งานวิจัยทางคลีนิคศึกษาผลด้านสุขภาพผิว ของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ที่มีส่วนประกอบของแอสตาแซนธิน (Astaxanthin) ในกลุ่มอาสาสมัครผู้หญิงชาวอเมริกันวัยกลางคน
ที่สุขภาพดี พบว่า  หลังจากสัปดาห์ที่ 6 อาสาสมัครกลุ่มที่ได้รับแอสตาแซนธิน
 

 วันละ 4 มิลลิกรัม (2 x 2 มิลลิกรัม) มีสุขภาพผิวที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ริ้วรอยลดเลือนลง ความยืดหยุ่นของผิวดีขึ้น ผิวมีความชุ่มชื้นมากขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (placebo)




แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) 

มีความสามารถ ในการต้านอนุมูลอิสระ ได้แรงกว่า วิตามินซี 6000 เท่า,
ดีกว่า CoQ10 800 เท่า,
ดีกว่า วิตามินอี 550 เท่า,
ดีกว่าชาเขียว 550 เท่า

ดีกว่า Alpha lipoic acid 75 เท่า,
ดีกว่า เบต้า แคโรทีน 40 เท่า,
และดีกว่าสารสกัดจากเมล้อดอ
งุ่น 17 เท่า

แอสตาแซนธิน มีคุณสมบัติพิเศษคือ
สามารถปรับตัวเองอยู่ได้ทั้งส่วนที่
เป็นไฮโดรฟิลิก (ชั้นน้ำ) และไฮโดรโฟลิก(ชั้นไขมัน)
ได้ทั้ง 2 ส่วน จึงมีคุณสมบัติที่เหนือกว่า
ในการป้องกัน ผนังเซลล์แบบ Lipid bilayer
จากปฎิกิริยา เปอร์ออกซิเดชั่น
ต่างกับเบต้า-แคโรทีนที่จะอยู่ได้
เฉพาะส่วนที่เป็นชั้นไขมัน
และวิตามินซีจะอยู่ได้เฉพาะส่วนที่เป็นชั้นน้ำ

##แอสตาแซนธิน เข้าถึงทุกส่วนของเซลล์





กิฟฟารีน แอสตาแซนธิน

สมาชิกลด 25 % เหลือกล่องละ 495 บาท

ใน 1 แคปซูล ประกอบด้วย
แอสตาแซนธิน 5% จาก
ฮีมาโตคอกคัส พลูวิเอลิสสกัด 40 มิลลิกรัม
(ให้แอสตาแซนธิน 2 มิลลิกรัม)
กรดแอสคอร์บิก 30 มิลลิกรัม
(ให้วิตามินซี 30 มิลลิกรัม)

หลังจากสัปดาห์ที่ 6 พบว่า
ผู้ที่รับประทาน แอสตาแซนธิน 4 มิลลิกรัมต่อวัน
มีริ้วรอยลดลง
ความยืดหยุ่นของผิวดีขึ้น
ความชุ่มชื้นของผิวดีขึ้น
สุขภาพผิวโดยรวมขึ้น








Astaxanthin แอสตาแซนธินดี ต่อสุขภาพ
 มีงานวิจัยหลายฉบับ ศึกษาถึงผลของแอสตาแซนธิน ต่อสุขภาพผิว
พบว่าการรับประทานแอนตาแซนธิน อย่างสม่ำเสมอเป็นเวลาต่อเนื่องกัน
6-8 สัปดาห์ มีผลทำให้ริ้วรอยลดลง ความยืดหยุ่นและความชุ่มชื้นของผิวดีขึ้น
จุดด่างดำจากแสงแดดลดลง และสุขภาพผิวโดยรวมดีขึ้น
โดยวัดจากเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ และการประเมินโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
รวมทั้งความพึงพอใจของผู้ทดสอบ เปรียบเทียบกับผู้ที่รับประทาน Placebo (ยาหลอก)
ที่ไม่มีส่วนผสมของแอสตาแซนธิน
 
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แอสตาแซนธินผสมวิตามินซี
ชนิดแคปซูล (ตรากิฟฟารีน)
 
ส่วนประกอบที่สำคัญโดยประมาณ 1 แคปซูล
สารสกัดสาหร่ายฮีมาโตคอกคัส พลูวิเอลิสสกัด 40 มิลลิกรัม
(ให้แอสตาแซนธิน 2 มิลลิกรัม)
กรดแอสคอร์บิก 30 มิลลิกรัม
(ให้วิตามินซี 30 มิลลิกรัม)
วิธีรับประทาน : วันละ 1-2 แคปซูล พร้อมอาหาร
คำเตือน : อ่านคำเตือนในฉลากก่อนบริโภค ไม่มีผลในการป้องกันหรือรักษาโรค

รหัส 40116 ขนาด 30 แคปซูล ราคา 660 บาท
สมาชิก ลด 25%
ราคาสมาชิก 495 บาท














========================================

astaxanthinสารต้านอนุมูลอิสระที่มาแรงมากในยุคนี้

แอสตาแซนทิน เป็นสารอาหารหนึ่งที่โด่งดังด้วยผลวิจัยทางการแพทย์มากมาย
แอสต้าแซนทิน เป็นสารอาหารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ carotenoid ที่ได้จากปลาทะเลและสาหร่ายสีแดงพันธุ์ Haematococcus Pluvialis และ สัตว์ทะเลบางชนิด เช่น ปลาแซลมอน ปลาเทาน์ กุ้ง และ ลอปสเตอร์

นานมาแล้ว ในวงการเลี้ยงปลาสวยงามจะรู้จักแอสตาแซนทินในชื่อคลอโรฟิลพิงค์ ที่ผสมในอาหารเลี้ยงปลาเพื่อเร่งสีให้เนื้อปลาสวยงามเร็วยิ่งขึ้น

astaxanthin ต้านอนุมูลอิสระซึ่งช่วยต่อสู้กับอนุมูลอิสระทำลายเซลล์ที่สามารถนำไปสู่การออกซิเดชั่นและอาจนำไปสู่ริ้วรอยก่อนวัยของเซลล์  จัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับสารต่าง ๆ ดังนี้

มากกว่าวิตามินอี แอลฟา โทโคฟีรอล 550 เท่า
มากกว่าเบต้า แคโรทีน 40 เท่า
มากว่าเมล็ดองุ่นสกัด 17 เท่า
มากกว่าวิตามินซี 6000 เท่า
มากกว่า โคเอนไซม์คิวเท็น 800 เท่า
มากกว่าสารในชาเขียว 550 เท่า
มากกว่า แอลฟา ไลโปอิก เอซิด 75 เท่า
ในการกำจัดอนุมูลอิสระ

แอสต้าแซนทิน  ยังมีคุณสมบัติในการปกป้องเยื่อหุ้มเซลล์จากการทำลายของอนุมูลอิสระ ปกป้อง DNA หรือ สารพันธุกรรมในเซลล์จากการถูกทำลาย ซึ่งป้องกันการกลายพันธุ์ของเซลล์ เป็นการป้องกันมะเร็งได้ ป้องกันเซลล์ผิวจากการถูกทำลายโดยแสงแดด และ มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นระบบภูมิต้านทาน
แอสตาแซนทิน สามารถใช้ร่วมกับสารสกัดเมล็ดองุ่นในการป้องกันเส้นเลือดเสื่อม และ เส้นเลือดขอดได้เป็นอย่างดี
 
ประโยชน์ของ แอสต้าแซนทิน
 
1. ป้องกัน และ ฟื้นฟูจอตาที่เสื่อม ซึ่งพบมากในผู้สูงอายุ และ ผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งจอตาจะเป็นจุดรับภาพของลูกตา ช่วยยับยั้งการสะสมของกรดในดวงตา อันเป็นสาเหตุให้ดวงตาอ่อนล้า ช่วยป้องกันดวงตาจากรังสีอัลตร้าไวโอเลต
2. ป้องกันการเสื่อมของไต และ หลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน
3. ป้องกัน และ บำบัดในผู้ป่วยความจำเสื่อม และ พาร์กินสัน
4. ปรับสมดุลของโคเลสเตอรอล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง LDL ซึ่งเป็นโคเลสเตอรอลตัวร้าย ช่วยให้ผนังหลอดเลือดยืดหยุ่นมากขึ้น ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ควรใช้ร่วมกับสารสกัดจากเมล็ดองุ่น

5. ลดภาวะอักเสบในร่างกาย ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยภูมิแพ้ตัวเอง ภูมิต้านทานต่ำ และ การติดเชื้อไวรัสเรื้อรัง เช่น กลุ่มผู้ป่วย AIDS ผู้ติดเชื้อไวรัสงูสวัด และ เริม
6. ทำให้สเปิร์มแข็งแรงขึ้น
7. ทำให้กล้ามเนื้อและข้อต่อมีสุขภาพดีขึ้น ช่วยให้กล้ามเนื้อมีความทนทานมากขึ้น
8. ปกป้องโครงสร้างผิวจากการถูกทำลายโดยแสงแดดและรังสีอัลตราไวโอเลต ช่วยกระชับรูขุมขน ลดเลือนริ้วรอย
9. ปรับสมดุลความดันโลหิตและการเต้นของหัวใจ
10. ช่วยบรรเทาอาการต่อมลูกหมากอักเสบหรือโต และ มะเร็งต่อมลูกหมาก
11. ช่วยการซ่อมแซม และ ฟื้นฟูเซลล์สมองและหลอดเลือดในผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองแตก หรือ ผู้ป่วยที่ขาดออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง



มีความปลอดภัยสูง เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งในอาหารของมนุษย์มายาวนานหลายพันปี เช่น เนื้อปลาแซลมอนที่มีสีเข้มขนาดหนึ่งหน่วยบริโภคจะมีสารแอสตาแซนทิน  3 - 6 มิลลิกรัม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีหลายการทดลองทางคลินิก ที่ให้ผู้เข้าร่วมการทดลองรับประทานอาหารที่ผลิตจาก Microalgae ที่อุดมไปด้วยแอสตาแซนทิน 40 มิลลิกรัมต่อวัน 
นับตั้งแต่ปี 1995 มีการจำหน่ายแอสตาแซนทินในรูปแบบอาหารในกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย และมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สารสกัดแอสตาแซนทินตั้งแต่ปี 1999 โดยไม่มีการรายงานถึงผลกระทบทางด้านลบแต่อย่างใด

=====
บทความบางส่วนจาก bloggang.com